ผลิตภัณฑ์ใหม่ ความกลมกลืนกันอย่างลงตัวของไทเทเนียมและเซรามิก

เปิดตัวใหม่ในปี 2017
Grand Seiko SBGC221

เข็มที่ยาวจนเกือบถึงขอบหน้าปัดนั้นช่วยเพิ่มความชัดเจนในการอ่านค่าเวลาได้เป็นอย่างดี หน้าต่างย่อยแสดง นาทีและชั่วโมงนั้น จะอยู่ทางด้านขวาของนาฬิกาโดยทางด้านซ้ายจะมีเข็มเล็กๆ เพื่อแสดงการสำรองพลังงาน การแยกฟังก์ชั่นโครโนกราฟและการบอกเวลาเวลาให้แตกต่างนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่า การอ่านค่าทั้งสองแบบจะมีความชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมันคือนาฬิกา สปริงไดรฟ์ โครโนกราฟ ที่มารูปแบบของเซรามิกและไทเทเนียมที่มีความเข้มข้นสูง

สปริงไดร์ฟ โครโนกราฟ ที่บรรจุเครื่องคาลิเบอร์ 9R86 นั้น เสร็จสมบูรณ์ในปี 2007 โดยมีอัตราความแม่นยำเฉลี่ย± 15 วินาทีต่อเดือนและสามารถสำรองพลังงานได้ถึง 72 ชั่วโมง แม้ใช้งานโครโนกราฟอยู่ตลอด นี่คือความสามารถเดียวกับ สปริงไดรฟ์แบบสามเข็ม 9R65 โดยเมื่อตอนที่เครื่องคาลิเบอร์ 9R65 ได้รับการพัฒนานั้น ก็ได้มีการออกแบบเพื่อให้สามารถรองรับระบบโครโนกราฟในอนาคตไว้แล้ว กลไกจึงถูกขับเคลื่อนด้วยแรงบิดคงที่ซึ่งให้พลังงานมากพอที่จะทำให้สามารถใช้งานได้ถึง 72 ชั่วโมง แม้จะใช้ฟังก์ชั่นจับเวลาอยู่ก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ระบบคลัตช์แนวตั้งสำหรับการส่งกำลัง ที่มีการพัฒนามาจากคาลิเบอร์ 6139 ที่ผลิตในปี 1969 ได้มีการป้องกันไม่ให้เข็มวินาทีกระโดดเมื่อเริ่มจับเวลา การใช้งานโครโนกราฟแบบสองปุ่มนั้นได้มาจากประสบการณ์ในการเป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการ ในกีฬาโอลิมปิคปี 1964 ที่โตเกียวนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สปริงไดร์ฟ โครโนกราฟ นั้นเป็นมากกว่าเครื่องมือจับเวลาที่มีความแม่นยำสูง แต่เป็นการผสมผสานการดีไซน์ของเซรามิคและไทเทเนียมที่มีความเข้มสูง ไว้บนข้อมือ

Grand Seiko SBGH201 Grand Seiko SBGH201

สปริงไดร์ฟ โครโนกราฟ ที่บรรจุเครื่องคาลิเบอร์ 9R86 นั้น เสร็จสมบูรณ์ในปี 2007 โดยมีอัตราความแม่นยำเฉลี่ย± 15 วินาทีต่อเดือนและสามารถสำรองพลังงานได้ถึง 72 ชั่วโมง แม้ใช้งานโครโนกราฟอยู่ตลอด นี่คือความสามารถเดียวกับ สปริงไดรฟ์แบบสามเข็ม 9R65 โดยเมื่อตอนที่เครื่องคาลิเบอร์ 9R65 ได้รับการพัฒนานั้น ก็ได้มีการออกแบบเพื่อให้สามารถรองรับระบบโครโนกราฟในอนาคตไว้แล้ว กลไกจึงถูกขับเคลื่อนด้วยแรงบิดคงที่ซึ่งให้พลังงานมากพอที่จะทำให้สามารถใช้งานได้ถึง 72 ชั่วโมง แม้จะใช้ฟังก์ชั่นจับเวลาอยู่ก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ระบบคลัตช์แนวตั้งสำหรับการส่งกำลัง ที่มีการพัฒนามาจากคาลิเบอร์ 6139 ที่ผลิตในปี 1969 ได้มีการป้องกันไม่ให้เข็มวินาทีกระโดดเมื่อเริ่มจับเวลา การใช้งานโครโนกราฟแบบสองปุ่มนั้นได้มาจากประสบการณ์ในการเป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการ ในกีฬาโอลิมปิคปี 1964 ที่โตเกียวนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สปริงไดร์ฟ โครโนกราฟ นั้นเป็นมากกว่าเครื่องมือจับเวลาที่มีความแม่นยำสูง แต่เป็นการผสมผสานการดีไซน์ของเซรามิคและไทเทเนียมที่มีความเข้มสูง ไว้บนข้อมือ