วิวัฒนาการ ของสุนทรีย์ศาสตร์ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีและงานหัตถศิลป์

ทันทีหลังจากการเปิดตัวระบบสปริงไดร์ฟเป็นครั้งแรก การพัฒนาแกรนด์ไซโกกับกลไกโครโนกราฟก็ได้เริ่มขึ้น โดยจุดมุ่งหมายนั้น คือการที่จะทำให้โครโนกราฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบสปริงไดร์ฟนั้นมีความแม่นยำที่สุดในโลก ซึ่งในความเป็นจริงการขับเคลื่อนของสปริงไดร์ฟแบบสามเข็มดั้งเดิมนั้นถือเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างขึ้นด้วยคาลิเบอร์อื่น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่นการจัดวางตัวบอกพลังงานสำรองไว้ ณ ตำแหน่ง 7 และ 8 นาฬิกานั้น จะมีการเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับการเพิ่มเติมหน้าต่างย่อยอื่น ๆ ในอนาคต โดยยังคงความชัดเจนในทุกส่วนไว้ สำหรับส่วนอื่น ๆ ที่น่ายกย่อง คือการทำให้การออกแบบนั้นมีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร, สะดุดตากับปุ่มกดขนาดใหญ่แบบเกลียวที่ช่วยให้การทำงานของนาฬิกาโครโนกราฟมีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษ ในปี 2007, โครโนกราฟรุ่นแรกของแกรนด์ ไซโก นั้นมีประสิทธิภาพเกินความคาดหมาย จากการขับเคลื่อนด้วยเมนสปริง ซึ่งมีผลทำให้ได้ความถูกต้องแม่นยำถึงหนึ่งวินาทีต่อวัน, สำรองพลังงานได้ถึง 72 ชั่วโมงแม้ในขณะที่โครโนกราฟทำงานและต้องขอบคุณการเคลื่อนที่ของเข็มวินาทีแบบลื่นไหลที่เป็นเหมือนเครื่องมือเทียบเวลา ที่ทำให้แต่ละช่วงเวลาแม่นยำมากกว่านาฬิกาที่มี 'เสียงติ๊ก' และทำให้การขับเคลื่อนของกลไก สปริงไดร์ฟ โครโนกราฟนั้น ถูกนิยามขึ้นใหม่อีกครั้ง

หลังจากเปลี่ยนความสนใจจากความสวยงามภายนอกไปโฟกัสที่คุณภาพและประสิทธิภาพของโครโนกราฟแล้วนั้น ในปี 2016 นาฬิกาโครโนกราฟของแกรนด์ ไซโกทุกรุ่นจึงเปลี่ยนเป็นสตีลทั้งหมด โดยทีมนั้นคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเครื่องที่มีคุณสมบัติเช่นนี้สมควรจะนำเสนอในด้านที่ดูเป็นนวัตกรรมมากขึ้น พวกเขาจึงหันมาใช้เซรามิคผสมผสาน เพราะจะทำให้นาฬิกามีน้ำหนักเบาขึ้นและสวมใส่ได้อย่างสบาย นอกจากนั้นความต้านทานต่อรอยขีดข่วนของเซรามิคก็ยังมีข้อได้เปรียบในการดูแลรักษาและดูมีความชัดเจนในการออกแบบ

ความทนทานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนาฬิกา แกรนด์ ไซโก ทุกเรือน ความเสี่ยงของเซรามิคที่เกิดจากการกระแทกต้องถูกกำจัดออกไป ดังนั้นทีมออกแบบจึงสร้างตัวเรือนด้านในที่ทำจากไทเทเนียมที่มีความเข้มข้นสูง พร้อมประกบชิ้นส่วนเซรามิคไว้ด้านนอกเพื่อให้ตัวเรือนมีความราบเรียบและบางเฉียบ, ขอบหน้าปัดและข้อต่อเชื่อมตัวเรือนนั้นดีไซน์ให้มีความโค้งมนเพื่อให้นาฬิกานั้น เบาสบายและรับข้อมือพอดี

หลังจากเปลี่ยนความสนใจจากความสวยงามภายนอกไปโฟกัสที่คุณภาพและประสิทธิภาพของโครโนกราฟแล้วนั้น ในปี 2016 นาฬิกาโครโนกราฟของแกรนด์ ไซโกทุกรุ่นจึงเปลี่ยนเป็นสตีลทั้งหมด โดยทีมนั้นคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเครื่องที่มีคุณสมบัติเช่นนี้สมควรจะนำเสนอในด้านที่ดูเป็นนวัตกรรมมากขึ้น พวกเขาจึงหันมาใช้เซรามิคผสมผสาน เพราะจะทำให้นาฬิกามีน้ำหนักเบาขึ้นและสวมใส่ได้อย่างสบาย นอกจากนั้นความต้านทานต่อรอยขีดข่วนของเซรามิคก็ยังมีข้อได้เปรียบในการดูแลรักษาและดูมีความชัดเจนในการออกแบบ

ความทนทานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนาฬิกา แกรนด์ ไซโก ทุกเรือน ความเสี่ยงของเซรามิคที่เกิดจากการกระแทกต้องถูกกำจัดออกไป ดังนั้นทีมออกแบบจึงสร้างตัวเรือนด้านในที่ทำจากไทเทเนียมที่มีความเข้มข้นสูง พร้อมประกบชิ้นส่วนเซรามิคไว้ด้านนอกเพื่อให้ตัวเรือนมีความราบเรียบและบางเฉียบ, ขอบหน้าปัดและข้อต่อเชื่อมตัวเรือนนั้นดีไซน์ให้มีความโค้งมนเพื่อให้นาฬิกานั้น เบาสบายและรับข้อมือพอดี

อ่านเพิ่มเติม

ภาพด้านข้างของแกรนด์ ไซโก SBGC221 ขอบหน้าปัดและข้อต่อเชื่อมตัวเรือนมีความโค้ง เพื่อให้แน่ใจว่าจะสวมใส่แบบรับพอดีกับข้อมือ

กรอบตัวเรือนด้านในและกรอบตัวเรือนด้านหลังทำจากไทเทเนียมที่มีความเข้มสูงและน้ำหนักเบา ด้านนอกถูกขันประกบอีกทีด้วยเซรามิคเพื่อดูดซับแรงกระแทก

คอลัมน์

ต้นแบบการทดลอง รหัสที่ชื่อ G-Surface

แบบจำลองแนวคิด G-Surface คือการผสมผสานการขัดเงาสตีลแบบ ซารัตสึ กับยางแข็งที่ตัวเรือนด้านใน ซึ่งทำขึ้นในปี 2013 พิสูจน์ได้ว่าโครงสร้างตัวเรือนที่ประกอบขึ้นนั้นสามารถใช้งานได้และนำไปสู่การใช้งานกับเซรามิคและไทเทเนียมนั่นเอง