Grand Seiko เรื่องราวสู่อนาคต 10 เรื่อง เรื่องที่ 6 Spring Drive ความฝันของวิศวกรที่ใช้เวลา 28 ปีในการทำให้เป็นจริง

ความฝัน ในฐานะที่เป็นนาฬิกาประเภทใหม่โดยสิ้นเชิง จึงก่อให้เกิดการผสมผสานที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการประกอบนาฬิกาแบบดั้งเดิมกับเทคโนโลยีระดับสูง

ยุคสมัยแห่งระบบควอตซ์เริ่มต้นขึ้นในวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 1969 เมื่อ Seiko Quartz Astron เปิดตัวเป็นครั้งแรก และได้นำคลื่นลูกใหม่แห่งการพัฒนาเทคโนโลยีที่สร้างวิวัฒนาการแห่งการประกอบนาฬิกามาสู่ช่วงเวลาหลายปีนับจากนั้น ในปี ค.ศ. 1977 Seiko ได้เปิดตัวนาฬิการะบบแอนะล็อกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นรุ่นแรก และเปิดตัวนาฬิการะบบดิจิทัลหน้าจอ LCD รุ่นแรกในปี ค.ศ. 1973 ไม่ว่าการพัฒนาเหล่านี้จะก้าวหน้าโดยไม่มีข้อกังขาเพียงใด แต่ก็ไม่เป็นไปตามความฝันที่คาดคิดไว้มาอย่างยาวนานของวิศวกรหนุ่มของ Seiko Epson ที่ชื่อ Yoshikazu Akahane ตั้งแต่ร่วมงานกับ Seiko หลังจากที่เปิดตัว Astron ไปได้ไม่นาน เขาได้มองเห็นถึงข้อดีของนาฬิการะบบควอตซ์และระบบกลไก และวาดฝันไว้ว่าวันหนึ่งเขาจะสามารถสร้างนาฬิกาที่มอบความเที่ยงตรงได้แบบระบบควอตซ์โดยไม่ต้องอิงอยู่กับแเบตเตอรี่ แสง คลื่นวิทยุ หรือแหล่งพลังงานหรือสัญญาณอื่นใด สิ่งที่เขาฝันไว้คือนาฬิกาที่ผสมผสานข้อดีที่สุดของเทคโนโลยีการบอกเวลาที่ยอดเยี่ยมทั้งสองระบบไว้ด้วยกัน นั่นคือระบบกลไกและระบบควอตซ์ แม้จะใช้เวลาเกือบสามทศวรรษ แต่ท้ายที่สุดแล้วความฝันของเขาก็เป็นจริงได้ด้วย Spring Drive นาฬิกาที่ใช้ตัวควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของระบบกลไก

จากแนวคิดของ Akahane นั้น Seiko Epson ได้จดสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีนี้ในปี ค.ศ. 1978 แต่เขาและทีมเล็ก ๆ ของเขาต้องพบกับอุปสรรคครั้งใหญ่ในการนำมาใช้งานจริง ความจริงเริ่มปรากฏให้พวกเขาเห็นว่าถึงแม้แนวคิดจะสามารถใช้งานได้จริงอย่างไร้ที่ติ แต่พวกเขาต้องพัฒนาทุกด้านของเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถสร้างนาฬิกาดังกล่าวได้ ในการใช้งานผลึกควอตซ์โดยใช้พลังงานที่สร้างจากการเคลื่อนไหวของระบบกลไกให้ได้นั้น ประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ต้องลดการบริโภคพลังงานของวงจรเบ็ดเสร็จให้น้อยลงกว่าเดิม ความก้าวหน้าในช่วงแรกเริ่มนั้นเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่ต้องขอบคุณการพัฒนาในด้านอื่น ๆ รวมทั้งการสร้าง Seiko Kinetic ในปี ค.ศ. 1988 ที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เริ่มมีเค้าลางแห่งความเป็นจริง ตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1990 การวิจัยและพัฒนาได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และบริษัทได้ทุ่มเททรัพยากรให้แก่โปรเจกต์ดังกล่าวอย่างเต็มที่ สิ่งที่เริ่มต้นเป็นเพียงแค่ความฝันของชายคนหนึ่งได้กลายเป็นความสำคัญอันดับแรกของทั้งบริษัทในปัจจุบันนี้

นาฬิกาประเภทใหม่นี้จำเป็นต้องมีชื่อใหม่ และชื่อนั้นคือ Spring Drive ชื่อนี้ถูกเลือกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่านาฬิกามีพื้นฐานดั้งเดิมในฐานะนาฬิการะบบกลไกแต่ใช้ตัวควบคุมแบบใหม่ แน่นอนว่าส่วนประกอบ 80% เหมือนกับนาฬิการะบบกลไกระดับยอดเยี่ยมทุกประการ และชื่อของรุ่นนี้เจตนาเน้นย้ำถึงพื้นฐานดั้งเดิมของระบบการเคลื่อนไหวรวมทั้งความเคารพของทีมที่มีต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้มาถึงจุดนี้ได้ มีเพียงตัวปรับตั้งเท่านั้นที่แตกต่างออกไป และให้ชื่อเรียกว่า ‘ตัวปรับตั้งแบบประสานทั้งสามระบบ’ เพื่อเน้นถึงวิธีการอันเป็นเอกลักษณ์ที่พลังงานทั้งสามรูปแบบ ได้แก่ พลังงานกลไก พลังงานไฟฟ้า และพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างพลังงานให้แก่นาฬิกา นาฬิกาที่โดดเด่นนี้เผยโฉมให้เป็นที่รู้จักในปี ค.ศ. 1999 เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ไม่นานหลังจากนั้น Yoshikazu Akahane ได้เสียชีวิตลง แต่ไม่ใช่ก่อนที่อัจฉริยภาพของเขาจะเป็นที่รู้จักจากผลตอบรับเชิงบวกที่ล้นหลามที่ Spring Drive ได้รับ บริษัทอื่น ๆ ได้พยายามเช่นกัน แต่มีเพียงเขากับทีมของเขาเท่านั้นที่ทำสำเร็จ

เจเนอเรชันแรกของ Spring Drive ใช้ระบบการเคลื่อนไหวแบบไขลานด้วยมือ ซึ่งถือเป็นชัยชนะทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าทีมนักออกแบบตั้งเป้าหมายไว้สูงกว่าเดิมเสมอ และเพื่อให้ควรค่าแก่ชื่อของ Grand Seiko พวกเขาจึงคิดว่า Spring Drive ควรมีความสามารถในการขึ้นลานโดยอัตโนมัติได้เช่นเดียวกับการไขลานเอง ทีมงานได้เริ่มต้นทำงานเพื่อพัฒนา Caliber ที่จะได้ชื่อว่า 9R และเป็นตัวสร้างพลังงานให้แก่นาฬิกา Spring Drive ของ Grand Seiko ทั้งหมดในปัจจุบัน

การเคลื่อนไหวของข้อมือคือการขึ้นลานสปริง พลังงานของสปริงจะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า วงจรของระบบควอตซ์ควบคุมความเร็วในการหมุนของเฟืองได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นตัวทำให้เข็มนาฬิกาขับเคลื่อนกลไกนี้ให้ทำงานได้อย่างอิสระโดยสิ้นเชิง ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่มีความเที่ยงตรงสูงที่เชื่อมช่องโหว่ขนาดใหญ่ในการประกอบนาฬิกาไว้ได้ ก่อนที่จะมี Spring Drive นั้น การทำงานอย่างอิสระที่มีราคาสูงของนาฬิการะบบกลไกต้องแลกมาด้วยความเที่ยงตรงในการรักษาเวลาที่ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ความเที่ยงตรงของระบบควอตซ์เกิดขึ้นได้ในนาฬิกาที่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่เท่านั้น Spring Drive แก้ไขความยุ่งยากนี้ และในที่สุดก็สามารถมอบสิ่งที่ดีที่สุดจากโลกแห่งการประกอบนาฬิกาทั้งสองระบบได้สำเร็จ

ความฝัน ในฐานะที่เป็นนาฬิกาประเภทใหม่โดยสิ้นเชิง จึงก่อให้เกิดการผสมผสานที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการประกอบนาฬิกาแบบดั้งเดิมกับเทคโนโลยีระดับสูง

ยุคสมัยแห่งระบบควอตซ์เริ่มต้นขึ้นในวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 1969 เมื่อ Seiko Quartz Astron เปิดตัวเป็นครั้งแรก และได้นำคลื่นลูกใหม่แห่งการพัฒนาเทคโนโลยีที่สร้างวิวัฒนาการแห่งการประกอบนาฬิกามาสู่ช่วงเวลาหลายปีนับจากนั้น ในปี ค.ศ. 1977 Seiko ได้เปิดตัวนาฬิการะบบแอนะล็อกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นรุ่นแรก และเปิดตัวนาฬิการะบบดิจิทัลหน้าจอ LCD รุ่นแรกในปี ค.ศ. 1973 ไม่ว่าการพัฒนาเหล่านี้จะก้าวหน้าโดยไม่มีข้อกังขาเพียงใด แต่ก็ไม่เป็นไปตามความฝันที่คาดคิดไว้มาอย่างยาวนานของวิศวกรหนุ่มของ Seiko Epson ที่ชื่อ Yoshikazu Akahane ตั้งแต่ร่วมงานกับ Seiko หลังจากที่เปิดตัว Astron ไปได้ไม่นาน เขาได้มองเห็นถึงข้อดีของนาฬิการะบบควอตซ์และระบบกลไก และวาดฝันไว้ว่าวันหนึ่งเขาจะสามารถสร้างนาฬิกาที่มอบความเที่ยงตรงได้แบบระบบควอตซ์โดยไม่ต้องอิงอยู่กับแเบตเตอรี่ แสง คลื่นวิทยุ หรือแหล่งพลังงานหรือสัญญาณอื่นใด สิ่งที่เขาฝันไว้คือนาฬิกาที่ผสมผสานข้อดีที่สุดของเทคโนโลยีการบอกเวลาที่ยอดเยี่ยมทั้งสองระบบไว้ด้วยกัน นั่นคือระบบกลไกและระบบควอตซ์ แม้จะใช้เวลาเกือบสามทศวรรษ แต่ท้ายที่สุดแล้วความฝันของเขาก็เป็นจริงได้ด้วย Spring Drive นาฬิกาที่ใช้ตัวควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของระบบกลไก

จากแนวคิดของ Akahane นั้น Seiko Epson ได้จดสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีนี้ในปี ค.ศ. 1978 แต่เขาและทีมเล็ก ๆ ของเขาต้องพบกับอุปสรรคครั้งใหญ่ในการนำมาใช้งานจริง ความจริงเริ่มปรากฏให้พวกเขาเห็นว่าถึงแม้แนวคิดจะสามารถใช้งานได้จริงอย่างไร้ที่ติ แต่พวกเขาต้องพัฒนาทุกด้านของเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถสร้างนาฬิกาดังกล่าวได้ ในการใช้งานผลึกควอตซ์โดยใช้พลังงานที่สร้างจากการเคลื่อนไหวของระบบกลไกให้ได้นั้น ประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ต้องลดการบริโภคพลังงานของวงจรเบ็ดเสร็จให้น้อยลงกว่าเดิม ความก้าวหน้าในช่วงแรกเริ่มนั้นเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่ต้องขอบคุณการพัฒนาในด้านอื่น ๆ รวมทั้งการสร้าง Seiko Kinetic ในปี ค.ศ. 1988 ที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เริ่มมีเค้าลางแห่งความเป็นจริง ตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1990 การวิจัยและพัฒนาได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และบริษัทได้ทุ่มเททรัพยากรให้แก่โปรเจกต์ดังกล่าวอย่างเต็มที่ สิ่งที่เริ่มต้นเป็นเพียงแค่ความฝันของชายคนหนึ่งได้กลายเป็นความสำคัญอันดับแรกของทั้งบริษัทในปัจจุบันนี้

นาฬิกาประเภทใหม่นี้จำเป็นต้องมีชื่อใหม่ และชื่อนั้นคือ Spring Drive ชื่อนี้ถูกเลือกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่านาฬิกามีพื้นฐานดั้งเดิมในฐานะนาฬิการะบบกลไกแต่ใช้ตัวควบคุมแบบใหม่ แน่นอนว่าส่วนประกอบ 80% เหมือนกับนาฬิการะบบกลไกระดับยอดเยี่ยมทุกประการ และชื่อของรุ่นนี้เจตนาเน้นย้ำถึงพื้นฐานดั้งเดิมของระบบการเคลื่อนไหวรวมทั้งความเคารพของทีมที่มีต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้มาถึงจุดนี้ได้ มีเพียงตัวปรับตั้งเท่านั้นที่แตกต่างออกไป และให้ชื่อเรียกว่า ‘ตัวปรับตั้งแบบประสานทั้งสามระบบ’ เพื่อเน้นถึงวิธีการอันเป็นเอกลักษณ์ที่พลังงานทั้งสามรูปแบบ ได้แก่ พลังงานกลไก พลังงานไฟฟ้า และพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างพลังงานให้แก่นาฬิกา นาฬิกาที่โดดเด่นนี้เผยโฉมให้เป็นที่รู้จักในปี ค.ศ. 1999 เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ไม่นานหลังจากนั้น Yoshikazu Akahane ได้เสียชีวิตลง แต่ไม่ใช่ก่อนที่อัจฉริยภาพของเขาจะเป็นที่รู้จักจากผลตอบรับเชิงบวกที่ล้นหลามที่ Spring Drive ได้รับ บริษัทอื่น ๆ ได้พยายามเช่นกัน แต่มีเพียงเขากับทีมของเขาเท่านั้นที่ทำสำเร็จ

เจเนอเรชันแรกของ Spring Drive ใช้ระบบการเคลื่อนไหวแบบไขลานด้วยมือ ซึ่งถือเป็นชัยชนะทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าทีมนักออกแบบตั้งเป้าหมายไว้สูงกว่าเดิมเสมอ และเพื่อให้ควรค่าแก่ชื่อของ Grand Seiko พวกเขาจึงคิดว่า Spring Drive ควรมีความสามารถในการขึ้นลานโดยอัตโนมัติได้เช่นเดียวกับการไขลานเอง ทีมงานได้เริ่มต้นทำงานเพื่อพัฒนา Caliber ที่จะได้ชื่อว่า 9R และเป็นตัวสร้างพลังงานให้แก่นาฬิกา Spring Drive ของ Grand Seiko ทั้งหมดในปัจจุบัน

การเคลื่อนไหวของข้อมือคือการขึ้นลานสปริง พลังงานของสปริงจะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า วงจรของระบบควอตซ์ควบคุมความเร็วในการหมุนของเฟืองได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นตัวทำให้เข็มนาฬิกาขับเคลื่อนกลไกนี้ให้ทำงานได้อย่างอิสระโดยสิ้นเชิง ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่มีความเที่ยงตรงสูงที่เชื่อมช่องโหว่ขนาดใหญ่ในการประกอบนาฬิกาไว้ได้ ก่อนที่จะมี Spring Drive นั้น การทำงานอย่างอิสระที่มีราคาสูงของนาฬิการะบบกลไกต้องแลกมาด้วยความเที่ยงตรงในการรักษาเวลาที่ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ความเที่ยงตรงของระบบควอตซ์เกิดขึ้นได้ในนาฬิกาที่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่เท่านั้น Spring Drive แก้ไขความยุ่งยากนี้ และในที่สุดก็สามารถมอบสิ่งที่ดีที่สุดจากโลกแห่งการประกอบนาฬิกาทั้งสองระบบได้สำเร็จ

อ่านเพิ่มเติม

เรือนด้านซ้ายคือนาฬิการะบบ Spring Drive รุ่นแรกของโลก ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งใช้ระบบ Caliber 7R68 ที่ใช้การไขลานด้วยมือ รุ่นนี้มีตัวบ่งชี้การสำรองพลังงานอยู่ที่ตำแหน่ง 10 นาฬิกา เรือนด้านขวาคือการรังสรรค์ Spring Drive ของ Grand Seiko ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2004 รุ่นนี้ใช้ระบบ Caliber 9R65 ที่ใช้การขึ้นลานโดยอัตโนมัติ และมีความโดดเด่นที่สามารถสำรองพลังงานได้นานถึง 72 ชั่วโมง

1982
Spring Drive แบบไขลานด้วยมือ
ตัวอย่างแรก

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกจัดวางไว้รอบ ๆ ระบบฟันเฟืองของการเคลื่อนไหวของระบบกลไกเพื่อควบคุมการหมุนของเฟือง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบบริโภคพลังงานจำนวนมาก มีประสิทธิภาพการสร้างพลังงานที่ต่ำ และสามารถทำงานได้เพียงประมาณสามชั่วโมงเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือมันพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวคิดนี้สามารถใช้งานได้จริง

1993
Spring Drive แบบไขลานด้วยมือ
ตัวอย่างที่สอง

การเคลื่อนไหวของระบบกลไกถูกพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ปัญหาเรื่องการจัดการพลังงานยังคงอยู่อย่างที่เห็นได้จากขดสปริงขนาดใหญ่ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องลดขนาดของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ลง และระบบนี้สามารถสำรองพลังงานได้เพียงประมาณ 10 ชั่วโมงเท่านั้น เส้นทางการพัฒนานี้จึงเป็นอันตกไป

1999
Spring Drive แบบไขลานด้วยมือ

Caliber 7R68 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1999 ตัวเรือนและหน้าปัดของนาฬิการุ่นนี้ผ่านการขัดเงาอย่างประณีตงดงาม ซึ่งเป็นนาฬิการุ่นแรกที่แสดงให้เห็นว่า Spring Drive คือนาฬิกาที่ทรงเกียรติ โดยมีระบบการเคลื่อนไหวที่มีค่าคงทนและประกอบไปด้วยคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ชั้นสูง ตัวเรือนด้านหลังที่เผยให้เห็นด้านในทำให้สามารถมองเห็นระบบการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน ซึ่งเอกลักษณ์นี้เป็นที่ประจักษ์จากเฟืองที่หมุนครบแปดรอบต่อหนึ่งวินาทีได้พอดี

1982
Spring Drive แบบไขลานด้วยมือ
ตัวอย่างแรก

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกจัดวางไว้รอบ ๆ ระบบฟันเฟืองของการเคลื่อนไหวของระบบกลไกเพื่อควบคุมการหมุนของเฟือง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบบริโภคพลังงานจำนวนมาก มีประสิทธิภาพการสร้างพลังงานที่ต่ำ และสามารถทำงานได้เพียงประมาณสามชั่วโมงเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือมันพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวคิดนี้สามารถใช้งานได้จริง

1993
Spring Drive แบบไขลานด้วยมือ
ตัวอย่างที่สอง

การเคลื่อนไหวของระบบกลไกถูกพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ปัญหาเรื่องการจัดการพลังงานยังคงอยู่อย่างที่เห็นได้จากขดสปริงขนาดใหญ่ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องลดขนาดของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ลง และระบบนี้สามารถสำรองพลังงานได้เพียงประมาณ 10 ชั่วโมงเท่านั้น เส้นทางการพัฒนานี้จึงเป็นอันตกไป

1999
Spring Drive แบบไขลานด้วยมือ

Caliber 7R68 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1999 ตัวเรือนและหน้าปัดของนาฬิการุ่นนี้ผ่านการขัดเงาอย่างประณีตงดงาม ซึ่งเป็นนาฬิการุ่นแรกที่แสดงให้เห็นว่า Spring Drive คือนาฬิกาที่ทรงเกียรติ โดยมีระบบการเคลื่อนไหวที่มีค่าคงทนและประกอบไปด้วยคุณค่าแห่งหัตถศิลป์ชั้นสูง ตัวเรือนด้านหลังที่เผยให้เห็นด้านในทำให้สามารถมองเห็นระบบการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน ซึ่งเอกลักษณ์นี้เป็นที่ประจักษ์จากเฟืองที่หมุนครบแปดรอบต่อหนึ่งวินาทีได้พอดี

คอลัมน์

Spring Drive แบบขึ้นลานโดยอัตโนมัติ ปี 2004

การพัฒนา Spring Drive แบบขึ้นลานโดยอัตโนมัติเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1998 และใช้เวลาอีกหกปีนับจากนั้น ในปี ค.ศ. 2002 ได้มีการตัดสินใจที่จะใช้ระบบการเคลื่อนไหวนี้ในนาฬิกาของ Grand Seiko และจำเป็นต้องมีการยกระดับของความเที่ยงตรง การสำรองพลังงาน และพื้นผิวของนาฬิกาให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านเทคนิคด้วยเช่นกัน รุ่นสุดท้ายเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2003 และ Grand Seiko ได้ทำการเปิดตัวรุ่นนี้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004

*นาฬิกาบางรูปในหน้านี้มีข้อมูลจำเพาะที่แตกต่างจากช่วงเวลาที่นาฬิกานั้นเปิดตัว