Grand Seiko เรื่องราวสู่อนาคต 10 เรื่อง เรื่องที่ 9 จากระบบการจับเวลาในการแข่งขันกีฬาสู่โครโนกราฟที่มีความแม่นยำสูง.

CHRONOGRAPH ความท้าทายลำดับถัดไปของแกรนด์ ไซโก : การพัฒนาโครโนกราฟ

โครโนกราฟ ความท้าทายลำดับถัดไปของแกรนด์ ไซโก: การพัฒนาโครโนกราฟให้เข้ากับ ดีเอ็นเอ ของ แกรนด์ไซโกที่มีความแม่นยำสูงนั้น เป็นเรื่องปกติสำหรับทีมออกแบบแกรนด์ ไซโก โดยในช่วงก่อนปี 2000 พวกเขาต้องการสร้างโครโนกราฟที่มี “กลไกอันซับซ้อน” เป็นครั้งแรกอยู่แล้ว โดยบริษัทเองมีประสบการณ์ทั้งหมดนี้อยู่แล้วในการที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ต้องขอบคุณประวัติอันยาวนานก่อนหน้านี้ ที่สอนสองหลักการของวิทยาศาสตร์ในการทำเครื่องบอกเวลา, คือการจับเวลาและกระบวนการผลิตกลไกโครโนกราฟ

Seiko นั้นเป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทั้งหมดหกครั้งด้วยกัน โดยเริ่มต้นที่โตเกียวในปี 1964 , ซัปโปโร ในปี 1972 รวมถึงที่บาร์เซโลนา ในปี 1992, ลีลแฮมเมอร์ ในปี 1994, นากาโนะ ในปี 1998 และ ซอลล์ เลค ซิตี้ ในปี 2002 ซึ่งการจับเวลานี้เป็นหน้าที่ที่ต้องใช้ทักษะทางเทคโนโลยีระดับสูงมากรวมถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความแม่นยำของการจับเวลาในกีฬาทุกประเภท ในกีฬาโอลิมปิคที่โตเกียว นาฬิกาจับเวลาแบบใช้มือจับของ Seiko นั้นได้รับการยกย่องอย่างสูงในเรื่องของความแม่นยำ โดยเป้าหมายต่อไปคือการใช้ตรรกะความแม่นยำระดับเดียวกันนี้มาบรรจุในนาฬิกาข้อมือ ในปี 1969 ซึ่งเป็นปีที่ ไซโกได้ทำการคิดค้น สิ่งที่ถือว่าเป็นครั้งแรกของโลกได้หลายอย่าง โดยหนึ่งในนั้นคือการสร้างนาฬิกา ไซโก 5 สปอร์ต นาฬิกาที่จับเวลาความเร็วแบบโครโนกราฟ สามารถบอกวัน, วันที่อัตโนมัติได้เป็นเรือนแรกของโลก การใช้คาลิเบอร์ 6139 ที่นำความแม่นยำของการจับเวลาในกีฬาระดับโลกมาสู่ข้อมือ ด้วยเทคนิคการใช้คลัตช์แนวตั้งเพื่อส่งกำลังไปยังกลไกโครโนกราฟ โดยระบบนี้ยังคงมาตรฐานระดับโกลด์ สแตนดาร์ดมาถึงปัจจุบันนี้ และใช้ระบบโครโนกราฟที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มวินาทีกระโดด ตั้งแต่เริ่มจับเวลา

ด้วยประวัติศาสตร์ที่กล่าวมา มันจึงเป็นเรื่องปกติสำหรับทีม แกรนด์ ไซโก ที่ต้องการสร้างกลไกโครโนกราฟ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรฐานความแม่นยำของแกรนด์ ไซโกนั้น จะต้องมีความสามารถในการใช้งานและความชัดเจนสูงซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สร้างโครโนกราฟที่เหมาะกับพวกเขาได้ แนวคิดดังกล่าวจึงถูกเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในปี 1999 กลไกสปริงไดร์ฟ ได้ถูกสร้างขึ้น และมีการพัฒนาต่อ และในครั้งนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสใหม่ให้กับระบบโครโนกราฟ ในนาฬิการะดับลักซ์ชัวรี่นั่นเอง

CHRONOGRAPH ความท้าทายลำดับถัดไปของแกรนด์ ไซโก : การพัฒนาโครโนกราฟ

โครโนกราฟ ความท้าทายลำดับถัดไปของแกรนด์ ไซโก: การพัฒนาโครโนกราฟให้เข้ากับ ดีเอ็นเอ ของ แกรนด์ไซโกที่มีความแม่นยำสูงนั้น เป็นเรื่องปกติสำหรับทีมออกแบบแกรนด์ ไซโก โดยในช่วงก่อนปี 2000 พวกเขาต้องการสร้างโครโนกราฟที่มี “กลไกอันซับซ้อน” เป็นครั้งแรกอยู่แล้ว โดยบริษัทเองมีประสบการณ์ทั้งหมดนี้อยู่แล้วในการที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ต้องขอบคุณประวัติอันยาวนานก่อนหน้านี้ ที่สอนสองหลักการของวิทยาศาสตร์ในการทำเครื่องบอกเวลา, คือการจับเวลาและกระบวนการผลิตกลไกโครโนกราฟ

Seiko นั้นเป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทั้งหมดหกครั้งด้วยกัน โดยเริ่มต้นที่โตเกียวในปี 1964 , ซัปโปโร ในปี 1972 รวมถึงที่บาร์เซโลนา ในปี 1992, ลีลแฮมเมอร์ ในปี 1994, นากาโนะ ในปี 1998 และ ซอลล์ เลค ซิตี้ ในปี 2002 ซึ่งการจับเวลานี้เป็นหน้าที่ที่ต้องใช้ทักษะทางเทคโนโลยีระดับสูงมากรวมถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความแม่นยำของการจับเวลาในกีฬาทุกประเภท ในกีฬาโอลิมปิคที่โตเกียว นาฬิกาจับเวลาแบบใช้มือจับของ Seiko นั้นได้รับการยกย่องอย่างสูงในเรื่องของความแม่นยำ โดยเป้าหมายต่อไปคือการใช้ตรรกะความแม่นยำระดับเดียวกันนี้มาบรรจุในนาฬิกาข้อมือ ในปี 1969 ซึ่งเป็นปีที่ ไซโกได้ทำการคิดค้น สิ่งที่ถือว่าเป็นครั้งแรกของโลกได้หลายอย่าง โดยหนึ่งในนั้นคือการสร้างนาฬิกา ไซโก 5 สปอร์ต นาฬิกาที่จับเวลาความเร็วแบบโครโนกราฟ สามารถบอกวัน, วันที่อัตโนมัติได้เป็นเรือนแรกของโลก การใช้คาลิเบอร์ 6139 ที่นำความแม่นยำของการจับเวลาในกีฬาระดับโลกมาสู่ข้อมือ ด้วยเทคนิคการใช้คลัตช์แนวตั้งเพื่อส่งกำลังไปยังกลไกโครโนกราฟ โดยระบบนี้ยังคงมาตรฐานระดับโกลด์ สแตนดาร์ดมาถึงปัจจุบันนี้ และใช้ระบบโครโนกราฟที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มวินาทีกระโดด ตั้งแต่เริ่มจับเวลา

ด้วยประวัติศาสตร์ที่กล่าวมา มันจึงเป็นเรื่องปกติสำหรับทีม แกรนด์ ไซโก ที่ต้องการสร้างกลไกโครโนกราฟ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรฐานความแม่นยำของแกรนด์ ไซโกนั้น จะต้องมีความสามารถในการใช้งานและความชัดเจนสูงซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สร้างโครโนกราฟที่เหมาะกับพวกเขาได้ แนวคิดดังกล่าวจึงถูกเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในปี 1999 กลไกสปริงไดร์ฟ ได้ถูกสร้างขึ้น และมีการพัฒนาต่อ และในครั้งนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสใหม่ให้กับระบบโครโนกราฟ ในนาฬิการะดับลักซ์ชัวรี่นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม

「SBGA011」と「SBGL001」 「SBGA011」と「SBGL001」

ซ้าย: ไซโก 5 สปอร์ต สปีด ไทม์เมอร์ ซึ่งวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคมปี 1969 เป็นโครโนกราฟขึ้นลานอัตโนมัติเรือนแรกของโลก ที่สามารถบอกวัน / วันที่ โดยบรรจุเครื่องคาลิเบอร์ 6139
ขวา: แกรนด์ ไซโก SBGC003 เปิดตัวในปี 2007 โดดเด่นด้วยคาลิเบอร์ 9R86 บรรจุกลไก สปริงไดร์ฟ โครโนกราฟ โดยเพิ่มหน้าต่างย่อยแสดงนาทีและ ชั่วโมง ณ บริเวณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกาของหน้าปัด

การนำเอาเทคนิคการจับเวลาในการแข่งกีฬาแบบดั้งเดิมสู่นาฬิกาแนวสปอร์ต

นาฬิกาจับเวลากลไกแบบ 1/10 วินาทีที่เคยถูกใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคในปี 1964 ที่กรุงโตเกียว ในระบบสปริงไดร์ฟ โครโนกราฟ ที่บรรจุคาลิเบอร์ 9R86 ไว้นั้น เป็นระบบการทำงานที่ควบคุมด้วยสองปุ่มแบบเดียวกัน โดยถูกนำมาใช้เพื่อความแม่นยำสูงสุด

ระบบคลัตช์แนวตั้ง

ระบบคลัตช์แนวตั้ง

พลังงานที่ทรงพลังในช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวในแต่ละวันก็เป็นตัวผลักดันโครโนกราฟมีกำลังเดิน โดยพลังนี้จะถูกส่งไปยังกลไกโครโนกราฟเมื่อกดปุ่มเริ่มต้น โดยบริษัท ได้คิดค้นระบบคลัตช์แนวตั้งที่ใช้จานสปริงกับ คาลิเบอร์ 6139 ในปี 1969 เพื่อป้องกันไม่ให้เข็มวินาทีกระโดดเมื่อส่งพลังงานเข้าไปและเพิ่มเกณฑ์ของความแม่นยำในการจับเวลา โดยกลไกเวอร์ชั่นใหม่นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้นำมาใช้ในกลไกสปริงค์ไดร์ฟ โครโนกราฟ นี้ด้วย

*นาฬิกาบางรุ่นที่แสดงในที่นี้ อาจมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากตอนเปิดตัว