Grand Seiko เรื่องราวสู่อนาคต 10 เรื่อง เรื่องที่ 2 รูปแบบที่ไร้ที่ติ: สู่ความงดงามแห่งสุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่น

สัญลักษณ์แห่งดีไซน์ สัญลักษณ์แห่งดีไซน์ที่สร้างขึ้นด้วยเส้นที่คมชัดและประกายแห่งคุณภาพ

แสง เงา และเส้นที่คมชัด องค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้คือหลักสำคัญสำหรับดีไซน์ของ Grand Seiko แต่ก่อนที่ดีไซน์จะเกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องมีระดับความเที่ยงตรงแบบใหม่ในการผลิต และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดค่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 Seiko ได้ใช้หน่วยการวัดแบบพิเศษที่เรียกว่า “ligne” ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักในอุตสาหกรรมการประกอบนาฬิกา แต่ในปี ค.ศ. 1962 Seiko ได้เปลี่ยนมาใช้หน่วยมิลลิเมตรแทน สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหน่วยที่เล็กที่สุดจาก 1/4 ligne (ประมาณ 0.56 มม.) เป็น 0.1 มม. ทำให้ได้ดีไซน์ของตัวเรือนนาฬิกาและส่วนประกอบภายนอกที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

หัวใจสำคัญในการสร้างสไตล์ของ Grand Seiko คือความท้าทายในการทำให้หน้าปัดและตัวเรือนแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ตัวเรือนทำจากโลหะสแตนเลสรีดเย็น และต้องขอบคุณดีไซน์ที่มีความแม่นยำยิ่งกว่าเดิมที่ทำให้ได้รูปแบบสามมิติที่คมชัดยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่น่าจดจำเป็นพิเศษคือรูปลักษณ์ของสันนูนที่ไม่เหมือนใครซึ่งอยู่บริเวณข้างตัวเรือนไปจนถึงขาตัวเรือน หน้าปัดก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเช่นกัน เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเล่นแสงและเงา สัญลักษณ์บอกชั่วโมงบนหน้าปัดจึงถูกตัดให้เป็นทรงหลายเหลี่ยมมุมแล้วนำไปขัดเงาอย่างประณีต หน้าปัดราบเรียบช่วยให้ตัวเรือนสามารถกันน้ำได้ และทำให้สัญลักษณ์ต่าง ๆ มีความโดดเด่นและคมชัด องค์ประกอบเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการให้คำนิยามแก่สไตล์ของ Grand Seiko และต่อมาได้ถูกพัฒนาให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในรุ่น GS Self-dater ปี ค.ศ. 1964 และรุ่น 44GS ปี ค.ศ. 1967

ทั้งหมดนี้มาอยู่รวมกันในรุ่น 44GS ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งเป็นนาฬิการุ่นที่ก่อตั้งสไตล์ของ Grand Seiko ได้ในที่สุด รูปทรงของตัวเรือนถือเป็นการปฏิวัติใหม่ ผิวด้านหน้าแบบราบเรียบถูกขัดเงาเพื่อให้ได้รูปลักษณ์ที่ปราศจากการบิดเบือน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่าการขัดเงาแบบซารัตสึ (Zaratsu)
เทคนิคนี้จำเป็นต้องใช้ทักษะที่ชำนาญและประสบการณ์อันยาวนานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ

ตัวเรือนด้านข้างเอียงเข้าด้านในอย่างคมชัด ทำให้นาฬิกาที่สวมอยู่บนข้อมือดูพิถีพิถันและมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น เม็ดมะยมได้ถูกจัดวางลึกลงไปในตัวเรือนเพื่อเผยโฉมความงามของแนวด้านข้างนี้
นักออกแบบของ Grand Seiko ท่านหนึ่งได้ยึดมั่นในสาระสำคัญของทุกรายละเอียดเพื่อสร้างสไตล์ของ Grand Seiko ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในทุกวันนี้ เขาสร้างเข็มนาฬิกาและสัญลักษณ์บอกชั่วโมงที่มีหลายเหลี่ยมมุมเพื่อให้สามารถเล่นกับแสงได้ทั่วหน้าปัด และเขาได้สร้างขอบหน้าปัดที่ขัดจนเงาราวกับกระจก เพื่อให้สุนทรียภาพของดีไซน์ทั้งชิ้นให้มีความคมชัดและเปล่งประกาย รุ่น 44GS ทำให้ Grand Seiko ค้นพบสัญลักษณ์แห่งดีไซน์ของตน และตำนานจึงกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา

สัญลักษณ์แห่งดีไซน์ สัญลักษณ์แห่งดีไซน์ที่สร้างขึ้นด้วยเส้นที่คมชัดและประกายแห่งคุณภาพ

แสง เงา และเส้นที่คมชัด องค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้คือหลักสำคัญสำหรับดีไซน์ของ Grand Seiko แต่ก่อนที่ดีไซน์จะเกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องมีระดับความเที่ยงตรงแบบใหม่ในการผลิต และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดค่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 Seiko ได้ใช้หน่วยการวัดแบบพิเศษที่เรียกว่า “ligne” ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักในอุตสาหกรรมการประกอบนาฬิกา แต่ในปี ค.ศ. 1962 Seiko ได้เปลี่ยนมาใช้หน่วยมิลลิเมตรแทน สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหน่วยที่เล็กที่สุดจาก 1/4 ligne (ประมาณ 0.56 มม.) เป็น 0.1 มม. ทำให้ได้ดีไซน์ของตัวเรือนนาฬิกาและส่วนประกอบภายนอกที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

หัวใจสำคัญในการสร้างสไตล์ของ Grand Seiko คือความท้าทายในการทำให้หน้าปัดและตัวเรือนแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ตัวเรือนทำจากโลหะสแตนเลสรีดเย็น และต้องขอบคุณดีไซน์ที่มีความแม่นยำยิ่งกว่าเดิมที่ทำให้ได้รูปแบบสามมิติที่คมชัดยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่น่าจดจำเป็นพิเศษคือรูปลักษณ์ของสันนูนที่ไม่เหมือนใครซึ่งอยู่บริเวณข้างตัวเรือนไปจนถึงขาตัวเรือน หน้าปัดก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเช่นกัน เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเล่นแสงและเงา สัญลักษณ์บอกชั่วโมงบนหน้าปัดจึงถูกตัดให้เป็นทรงหลายเหลี่ยมมุมแล้วนำไปขัดเงาอย่างประณีต หน้าปัดราบเรียบช่วยให้ตัวเรือนสามารถกันน้ำได้ และทำให้สัญลักษณ์ต่าง ๆ มีความโดดเด่นและคมชัด องค์ประกอบเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการให้คำนิยามแก่สไตล์ของ Grand Seiko และต่อมาได้ถูกพัฒนาให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในรุ่น GS Self-dater ปี ค.ศ. 1964 และรุ่น 44GS ปี ค.ศ. 1967

ทั้งหมดนี้มาอยู่รวมกันในรุ่น 44GS ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งเป็นนาฬิการุ่นที่ก่อตั้งสไตล์ของ Grand Seiko ได้ในที่สุด รูปทรงของตัวเรือนถือเป็นการปฏิวัติใหม่ ผิวด้านหน้าแบบราบเรียบถูกขัดเงาเพื่อให้ได้รูปลักษณ์ที่ปราศจากการบิดเบือน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่าการขัดเงาแบบซารัตสึ (Zaratsu)
เทคนิคนี้จำเป็นต้องใช้ทักษะที่ชำนาญและประสบการณ์อันยาวนานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ

ตัวเรือนด้านข้างเอียงเข้าด้านในอย่างคมชัด ทำให้นาฬิกาที่สวมอยู่บนข้อมือดูพิถีพิถันและมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น เม็ดมะยมได้ถูกจัดวางลึกลงไปในตัวเรือนเพื่อเผยโฉมความงามของแนวด้านข้างนี้
นักออกแบบของ Grand Seiko ท่านหนึ่งได้ยึดมั่นในสาระสำคัญของทุกรายละเอียดเพื่อสร้างสไตล์ของ Grand Seiko ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในทุกวันนี้ เขาสร้างเข็มนาฬิกาและสัญลักษณ์บอกชั่วโมงที่มีหลายเหลี่ยมมุมเพื่อให้สามารถเล่นกับแสงได้ทั่วหน้าปัด และเขาได้สร้างขอบหน้าปัดที่ขัดจนเงาราวกับกระจก เพื่อให้สุนทรียภาพของดีไซน์ทั้งชิ้นให้มีความคมชัดและเปล่งประกาย รุ่น 44GS ทำให้ Grand Seiko ค้นพบสัญลักษณ์แห่งดีไซน์ของตน และตำนานจึงกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา

อ่านเพิ่มเติม

รุ่น 44GS ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกที่นำสไตล์ของ Grand Seiko มาใช้ในปี ค.ศ. 1967 ได้ถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่ในปี ค.ศ. 2013 เป็นรุ่น SBGW047 ซึ่งมีจำนวนจำกัด ทั้งผลึกคริสตัล ความหนาตัวเรือน และรายละเอียดอื่น ๆ ได้รับการปรับปรุง แต่คุณลักษณะของดีไซน์ตัวเรือนที่มีแนวเส้นตรง แนวระนาบ และพื้นผิวแบบโค้งสองมิติได้ถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างแท้จริง พื้นผิวตัวเรือนที่ขัดเงาเป็นพิเศษและปราศจากการบิดเบือนสามารถสะท้อนภาพได้ราวกับกระจกจริง ๆ

พื้นผิวของขอบหน้าปัดและตัวเรือนที่ผ่านการขัดเงาเป็นพิเศษและปราศจากการบิดเบือนคือผลลัพธ์ของการขัดเงาแบบซารัตสึ (Zaratsu) ซึ่งเป็นศิลปะที่ทำได้เฉพาะช่างฝีมือผู้มีทักษะความชำนาญเท่านั้น ตัวเรือนด้านข้างที่เอียงเข้าด้านในถือเป็นพื้นผิวที่ท้าทายเทคนิคนี้เป็นอย่างยิ่ง (รุ่นในรูปนี้คือ SBGW047)

พื้นผิวของขอบหน้าปัดและตัวเรือนที่ผ่านการขัดเงาเป็นพิเศษและปราศจากการบิดเบือนคือผลลัพธ์ของการขัดเงาแบบซารัตสึ (Zaratsu) ซึ่งเป็นศิลปะที่ทำได้เฉพาะช่างฝีมือผู้มีทักษะความชำนาญเท่านั้น ตัวเรือนด้านข้างที่เอียงเข้าด้านในถือเป็นพื้นผิวที่ท้าทายเทคนิคนี้เป็นอย่างยิ่ง (รุ่นในรูปนี้คือ SBGW047)

พื้นผิวที่ขัดเงาทำให้สัญลักษณ์บอกชั่วโมงแบบหลายเหลี่ยมมุมสามารถเปล่งประกายได้อย่างงดงามและก่อให้เกิดเงาที่น่าดึงดูดใจบริเวณอีกฟากได้
(รุ่นในรูปนี้คือ SBGH219)

ด้านข้างของเข็มชั่วโมงและเข็มนาทีถูกตัดเป็นแนวทแยงแล้วจึงนำไปขัดเงาเพื่อให้ได้พื้นผิวที่งดงาม ความเที่ยงตรงนี้คือสิ่งที่เห็นได้ชัดบนทุกพื้นผิวที่ปลายสุดของเข็มนาฬิกาแต่ละอัน
(รุ่นในรูปนี้คือ SBGH219)

ความหนาของตัวเรือนเท่ากับ 11.5 มม. แต่ดูบางกว่านั้นเพราะมีการเอียงเข้าด้านใน กระจกที่ใช้คือแซฟไฟร์ครัสตัล แต่คงรูปทรงแบบกล่องไว้เพื่อให้เหมือนกับรุ่น 44GS แบบดั้งเดิม
(รุ่นในรูปนี้คือ SBGW047)